
สมรสกับชาวเยอรมัน
ในประเทศเยอรมนี
ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรส
บริการแปลเอกสารแต่งงาน จะแปลอย่างเดียว แล้วไปเดินเรื่องทั้งหมดด้วยตนเอง หรือจะใช้บริการแบบแพคเกจครบวงจร คือ ดูแลตั้งแต่แปลเอกสาร ยื่นรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลง ส่งเอกสารไปให้แฟนที่เยอรมัน กรอกคำร้อง นัดคิว จัดเอกสารทั้งหมดสำหรับยื่นวีซ่าแต่งงานในประเทศเยอรมัน
เตรียมเอกสารแต่งงานฝ่ายหญิง
เอกสารฉบับจริงทั้งหมดของคู่สมรสฝ่ายหญิง
ใหม่!
เอกสารที่เคลือบไม่สามารถใช้ในการรรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลงได้อีกต่อไป ต้องคัดใหม่ทุกกรณี!
-
หนังสือเดินทาง รับรองโดยสถานทูตเยอรมัน
-
สูติบัตร กรณีหาย ไปคัดจากต้นขั้วก่อน ถ้าต้นขั้วไม่มี ขอหนังสือรับรองการเกิดมาแทน
-
แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร ทร 14/1 หรือทะเบียนบ้านเล่มสีน้ำเงิน
-
หนังสือรับรองโสด หรือหนังสือรับรองสถานภาพสมรส มีอายุ 6 เดือน
-
คำร้องทะเบียนครอบครัว จากสำนักทะเบียนกลาง นางเลิ้ง มีอายุ 6 เดือน
-
ใบเปลี่ยนชื่อตัวทั้งหมด ช. 3 ถ้ามี
-
ใบเปลี่ยนนามสกุลทั้งหมด ช. 1, 2, 5 ฯลฯ ถ้ามี
กรณีหย่า หรือเป็นหม้ายยื่นเอกสารดังนี้ ขอเพิ่ม
-
ทะเบียนสมรส คร. 2
-
ใบสำคัญการหย่า คร. 7
-
ทะเบียนการหย่า คร.
-
มรณบัตรของคู่สมรส
กรณีจดทะเบียนสมรสในประเทศเยอรมัน ขอเพิ่ม
-
หนังสือมอบอำนาจ Vollmacht für die Anmeldung der Eheschließung โดยให้ล่ามแปลรับรองว่าแปลเนื้อหาให้ฟังและเข้าใจแล้ว (แบบฟอร์มเรามีให้)
กรณีฝ่ายหญิงหย่า ขอเพิ่ม
-
แบบฟอร์มคำร้องตรวจสอบการหย่าของฝ่ายหญิง Antrag auf Anerkennung einer ausländischen Entscheidung in Ehesachen nach § 107 FamFG
-
หนังสือมอบอำนาจ ให้คู่หมั้นฝ่ายชายยื่นแบบฟอร์มดังกล่าวต่อหน่วยงานศาลเยอรมันเพื่อตรวจสอบการหย่าของฝ่ายหญิง และรับกลับคืนมาเมื่อการตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้ว
จดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนเยอรมัน
ขั้นตอนที่ 1
-
แปลเอกสารแต่งงานคู่หมั้นฝ่ายหญิง
-
นำเอกสารแต่งงานไปรับรองไม่ปลอมแปลงที่สถานทูตเยอรมัน กรุงเทพฯ
-
ทำใบมอบอำนาจเพื่อให้คู่หมั้นฝ่ายชายนำเอกสารแต่งงานไปยื่นที่ Standesamt โดยล่ามแปลจะรับรองว่าแปลเนื้อหาให้ฟังแล้ว และนำไปเซ็นต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานทูตเยอรมัน พร้อมรับรองสำเนาหนังสือเดินทางของฝ่ายหญิงด้วย
-
ส่งเอกสารตัวจริงทั้งหมด ใบมอบอำนาจ และสำเนาพาสที่รับรองจากสถานทูตไปให้คู่หมั้นฝ่ายชายที่เยอรมัน ก
ขั้นตอนที่ 2
-
คู่หมั้นฝ่ายชายนำเอกสารที่ได้รับทั้งหมดไปยื่นที่สำนักทะเบียนสมรส หรือ Standesamt.
-
นายทะเบียนจะส่งเอกสารทั้งหมดไปให้ศาลชั้นสูงตรวจสอบเพื่อขออนุมัติการจดทะเบียนสมรสของทั้งสองฝ่าย ซึ่งขั้นตอนกสนตรวจสอบอาจใช้เวลาถึง 6 สัปดาห์ได้ แล้วแต่กรณี
-
กรณีที่คู่หมั้นฝ่ายหญิงมีสถานภาพหย่า จะต้องให้ทางศาลชั้นสูงยอมรับการหย่าของไทยก่อน การตรวจสอบอาจกินเวลานานถึง 8 สัปดาห์ก็ได้
ขั้นตอนที่ 3
-
หลังจากที่ศาลชั้นสูงของเมืองที่ฝ่ายชายอยู่ได้ตรวจสอบเอกสารเสร็จแล้ว ก็จะส่งคืนไปยังสำนักทะเบียน หรือ Standesamt นายทะเบียนก็จะแจ้งให้คู่หมั้นฝ่ายชายทราบเป็นระยะว่าเรื่องที่ศาลเสร็จแล้ว
-
ให้คู่หมั้นฝ่ายชายขอหนังสือรับรองจากนายทะเบียนเป็นลายลักษณ์อักษรทันที คือใบ Bescheinigung über die Anmeldung der Eheschließung nach §13 Abs. 4 PStG
-
หนังสือรับรองฉบับนี้ ต้องส่งตัวจริงมาให้คู่หมั้นฝ่ายหญิงทางไปรษณีย์ เพื่อประกอบหลักฐานในการยื่นคำร้องขอวีซ่าแต่งงานที่สถานทูตเยอรมันต่อไป ทั้งนี้ก็ต้องสอบเอวันให้ผ่านก่อนด้วยนะครับ
ขั้นตอนที่ 4
-
ก่อนการยื่นวีซ่าแต่งงาน ทุกท่านจะต้องจองคิวผ่านระบบนัดคิวยื่นวีซ่าในเว็บไซด์สถานทูต
-
คำร้องและเอกสารประกอบต่างๆที่ท่านยื่นไปจะถูกส่งไปยังกองตรวจคนเข้าเมืองของคู่หมั้นฝ่ายชาย หรือ Ausländeramt ซึ่งจะแจ้งให้ฝ่ายชายทราบและนำหลักฐานต่างๆมายืนยัน เช่น หลักฐานรายได้ปัจจุบัน และที่พักอาศัยของตนเองว่า มีสถานภาพทางการเงินมั่นคง.
-
ถ้าไม่มีข้อสงสัยใดๆเกี่ยวกับการแต่งงานของทั้งสองฝ่าย ทาง Ausländeramt จะส่งคำตอบการอนุมัติออกวีซ่าแต่งงานให้ฝ่ายหญิงไปยังสถานทูตเยอรมันทางระบบออนไลน์
-
สถานทูตจะพิจารณาอีกรอบก่อนที่จะโทรไปแจ้งให้ฝ่ายหญิงทราบว่าวีซ่าได้รับการอนุมัติแล้ว
บริการเดินเรื่องแบบเพคเกจทุกขั้นตอน
กรณีลูกค้าใช้บริการเพคเกจจดทะเบียนสมรสที่เยอรมัน ทางเราจะดูแลลูกค้าทุกขั้นตอนกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่การเตรียมเอกสารแต่งงานไปจนถึงวีซ่าได้รับการอนุมัติ
เพคเกจนี้ รวมค่าใช้จ่ายรายการดังต่อไปนี้:
-
แปลเอกสารแต่งงาน
-
รับรองสำเนาหนังสือเดินทางไทย
-
ค่ารับรองเอกสารไม่ปลอมแปลง
-
ยื่นรับรองเอกสารและรับกลับคืนที่สถานทูตฯ
-
คัดคำร้องทะเบียนครอบครัวที่สำนักทะเบียนกลาง นางเลิ้ง (ฟรี)
-
กรอกหนังสือมอบอำนาจกรณีจดทะเบียนสมรสที่ประเทศเยอรมนี
-
กรอกคำร้องเพื่อขอตรวจสอบทะเบียนหย่า
-
นัดคิววีซ่าออนไลน์ (ฟรี)
-
กรอกคำร้องวีซ่าแต่งงาน ฯลฯ (ฟรี)
-
จัดเตรียมเอกสารก่อนยื่นวีซ่า (ฟรี)
-
รับวีซ่าแทนให้ได้ แล้วแต่กรณี (ฟรี)
ในเพคเกจรวมอะไรบ้าง
ค่าแปลเอกสาร
หนังสือมอบอำนาจ
ยื่นรับรองเอกสาร
ส่งเอกสารด่วน
ค่าธรรมเนียม
นัดคิวยื่นวีซ่า

สิ่งที่ลูกค้าต้องเสียเองต่างหาก
การยอมรับ
การจดทะเบียนหย่าจากต่างประเทศ
-กรณีหย่าแบบตามยอม-
หนังสือมอบอำนาจ
การทำสัตยาบัน
เพื่อแจ้งขอจดทะเบียนสมรส
เกี่ยวกับสถานภาพสมรสต่อเจ้าพนักงาน
-กรณีเป็นโสดหรือหย่า-
-ไม่จำเป็นต้องขอเสมอไป-
-
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป การเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆของสถานทูตเยอรมัน กรุงเทพฯ จะเป็นไปตามกฎหมายค่าธรรมเนียมฉบับใหม่
-
นั่นแปลว่า ค่าธรรมเนียมใหม่ในการรับรองลายมือชื่อ สำหรับหนังสือมอบอำนาจเพื่อยื่นขอจดทะเบียนสมรสในประเทศเยอรมนีจะเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 2000.- THB!
-
ส่วนค่าธรรมเนียมรับรองสำเนาหนังสือเดินทางทั่วไปจะอยู่ประมาณ 900.- THB!
-
ค่าธรรมเนียมวีซ่าแต่งงานที่สถานทูต ประมาณ 2850.- THB
INFO
การบันทึกคำให้การแบบมีการสาบานเกี่ยวกับสถานภาพสมรส ที่สถานทูตเยอรมนี ต้องนัดหมายล่วงหน้า โดยกรอกข้อมูลในหน้าเว็บสถานทูตโดยตรง!
ระยะเวลารอวีซ่าอนุมัติ
มันคาดเดาค่อนข้างยาก ที่จะกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนว่าวีซ่าจะอนุมัติเมื่อไหร่ จากข้อมูลสถานทูตเยอรมัน กรุงเทพฯ อาจต้องรอนานถึง 2 เดือนก็เป็นได้