
สุรปรีชา สุธรรม (โด่ง)
ล่ามแปลที่ผ่านการรับรองจากรัฐเยอรมัน มีอำนาจรับรองคำแปลภาษาไทย-เยอรมัน จากศาลเมืองฮันโนเฟอร์ | ประเทศเยอรมนี

สมรสกับชาวเยอรมัน
ในประเทศไทย
ขั้นตอนจดทะเบียนสมรสในไทย
บริการแปลเอกสารแต่งงาน จะแปลอย่างเดียว แล้วไปเดินเรื่องทั้งหมดด้วยตนเอง หรือจะใช้บริการแบบแพคเกจครบวงจร คือ ดูแลตั้งแต่แปลเอกสาร ยื่นรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลง ส่งเอกสารไปให้แฟนที่เยอรมัน กรอกคำร้อง นัดคิว จัดเอกสารทั้งหมดสำหรับยื่นวีซ่าแต่งงานในประเทศไทย
บริการแบบเพคเกจดูแลทุกขั้นตอน
กรณีลูกค้าใช้บริการเพคเกจจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทย ทางเราจะดูแลลูกค้าทุกขั้นตอนกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่การเตรียมเอกสารแต่งงานไปจนถึงวีซ่าได้รับการอนุมัติ
เพคเกจนี้ รวมบริการตามรายการดังต่อไปนี้:
-
แปลเอกสารแต่งงาน
-
ค่ารับรองเอกสารไม่ปลอมแปลง
-
ยื่นรับรองเอกสารและรับกลับคืนที่สถานทูตฯ
-
คัดคำร้องทะเบียนครอบครัวที่สำนักทะเบียนกลาง นางเลิ้ง
-
กรณีเคยหย่า กรอกคำร้องเพื่อขอตรวจสอบทะเบียนหย่า
-
นัดคิววีซ่าออนไลน์
-
กรอกคำร้องวีซ่าติดตามคู่สมรส
-
จัดเตรียมเอกสารก่อนยื่นวีซ่าให้
เตรียมเอกสารแต่งงานฝ่ายหญิง
เอกสารฉบับจริงทั้งหมดของคู่สมรสฝ่ายหญิง
เอกสารที่เคลือบไม่สามารถรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลงได้อีกต่อไป ต้องคัดใหม่ทุกกรณี!
-
หนังสือเดินทาง รับรองโดยสถานทูตเยอรมัน
-
สูติบัตร กรณีหาย ไปคัดจากต้นขั้วก่อน ถ้าต้นขั้วไม่มี ขอหนังสือรับรองการเกิดมาแทน
-
แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร ทร 14/1 หรือทะเบียนบ้านเล่มสีน้ำเงิน
-
หนังสือรับรองโสด หรือหนังสือรับรองสถานภาพสมรส มีอายุ 6 เดือน
-
คำร้องทะเบียนครอบครัว จากสำนักทะเบียนกลาง นางเลิ้ง มีอายุ 6 เดือน
-
ใบเปลี่ยนชื่อตัวทั้งหมด ช. 3 ถ้ามี
-
ใบเปลี่ยนนามสกุลทั้งหมด ช. 1, 2, 5 ฯลฯ ถ้ามี
กรณีหย่า หรือเป็นหม้ายยื่นเอกสารดังนี้ ขอเพิ่ม
-
ทะเบียนสมรส คร. 2
-
ใบสำคัญการหย่า คร. 7
-
ทะเบียนการหย่า คร.
-
มรณบัตรของคู่สมรส
กรณีฝ่ายหญิงหย่า ขอเพิ่ม
-
แบบฟอร์มคำร้องตรวจสอบการหย่าของฝ่ายหญิง Antrag auf Anerkennung einer ausländischen Entscheidung in Ehesachen nach § 107 FamFG
-
หนังสือมอบอำนาจ ให้คู่หมั้นฝ่ายชายยื่นแบบฟอร์มดังกล่าวต่อหน่วยงานศาลเยอรมันเพื่อตรวจสอบการหย่าของฝ่ายหญิง และรับกลับคืนมาเมื่อการตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้ว
การขอหนังสือรับรองคุณสมบัติฯของฝ่ายชาย เพื่อมาจดทะเบียนสมรสในไทย
ขั้นตอนที่ 1
-
แปลเอกสารแต่งงานคู่หมั้นฝ่ายหญิง
-
นำเอกสารแต่งงานไปรับรองไม่ปลอมแปลงที่สถานทูตเยอรมัน กรุงเทพฯ
-
นำสำเนาหนังสือเดินทางไทยของคู่หมั้นฝ่ายหญิงไปรับรองด้วย
-
เมื่อสถานทูตรับรองเสร็จ ให้ส่งเอกสารตัวจริงพร้อมคำแปล และสำเนาพาสที่รับรองไปให้คู่หมั้นฝ่ายชายที่ประเทศเยอรมนี
ขั้นตอนที่ 2
-
คู่หมั้นฝ่ายชายนำเอกสารฝ่ายหญิงไปยื่นที่ Standesamt เพื่อขอหนังสือรับรองคุณสมบัติการจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย หรือ Ehefähigkeitszeugnis
-
กรณีที่คู่หมั้นฝ่ายหญิงเป็นโสด หนังสือรับรอง Ehefähigkeitszeugnis สามารถออกได้ทันทีหรือภายใน 2 วันทำการ!
-
หากคู่หมั้นฝ่ายหญิงมีสถานภาพหย่าแบบตามยอม อาจต้องให้ทางหน่วยงานด้านยุติธรรมของเบอร์ลิน หรือ Senatsverwaltung für Justiz in Berlin หรือศาลชั้นสูงในพื้นที่รับผิดชอบ ยอมรับการหย่าเสียก่อน ถึงจะออกใบ Ehefähigkeitszeugnis ให้ได้ ซึ่งขั้นตอนการตรวจสอบอาจใช้เวลา 3 ถึง 8 สัปดาห์ บางกรณีนานกว่านั้นก็มี ต้องระบุที่อยู่ปัจจุบันของสามีคนที่หย่าด้วย เพื่อความรวดเร็วในการตรวจสอบ ทางศาลจะส่งหนังสือไปยังสามีเก่าว่าไม่ขัดข้องในการที่ศาลดำเนินการตรวจสอบการหย่า ส่วนใหญ่แล้วเวลาศาลส่งหนังสือไปก็ไม่มีใครตอบ เพราะตามตัวอดีตสามีไม่เจอ แต่ถ้าไม่ตอบหรือเพิกเฉย ก็ถือว่าตามยอม
ขั้นตอนที่ 3
-
เมื่อคู่หมั้นฝ่ายชายได้รับหนังสือ Ehefähigkeitszeugnis แล้ว ให้ส่งใบดังกล่าว พร้อมสำเนาพาสของทั้งสองฝ่าย และแบบฟอร์มขอใบ Konsularbescheinigung ไปทางเมลสถานทูต rk-13@bangk.auswaertiges-amt.de ล่วงหน้า เพื่อให้สถานทูตเตรียมออกใบ Konsularbescheinigung รอประมาณทำการ 10 วันทำการ!
-
สถานทูตจะไม่มีการคอนเฟิร์มเมลที่ส่งเข้ามา แต่สถานทูตจะแจ้งให้ทางคู่หมั้นฝ่ายชายทราบทางเมล ทันทีที่ใบ Konsularbescheinigung เสร็จแล้วและพร้อมมารับได้ !
ขั้นตอนที่ 4
-
ให้คู่หมั้นฝ่ายชายนำใบ Ehefähigkeitszeugnis ตัวจริง ไปยื่นที่สถานทูตเยอรมัน จ่ายค่าธรรมเนียม และรับใบ Konsularbescheinigungให้ อย่าลืมว่า ต้องทำการนัดคิวออนไลน์ก่อนเข้าไปรับใบ Konsularbescheinigung แนะนำให้แปลสำเนาหนังสือเดินทางเยอรมันเป็นภาษาไทย และให้สถานทูตรับรองด้วยเช่นกัน!
-
เมื่อได้รับใบ Konsularbescheinigung แล้ว ทำตามขั้นตอนด้านล่างครับ

-
ก่อนเดินทางเพื่อมาจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย คู่หมั้นฝ่ายชายควรเผื่อเวลามาให้เพียงพอด้วย
-
ลูกค้าจะต้องทำการนัดหมายคิวที่จำเป็นต่างๆกับสถานทูตเยอรมัน และคิวกระทรวงการต่างประเทศ ไว้ล่วงหน้าเลย จะได้ไม่ต้องตกอยู่ในสภาวะกดดันในเงื่อนเวลาที่จำกัด!
-
การเปลี่ยนแปลง และการรอนานที่คาดไม่ถึง จากทางหน่วยงานราชการไทย หรือทางสถานทูตเยอรมัน อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา!
การจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย
ที่เขตบางรัก หรือที่เขต/อำเภออื่น
หลังจากฝ่ายชายไปรับใบ Konsularbescheinigung ที่สถานทูตเยอรมนีออกให้แล้ว ลูกค้าต้องนำ
-
ใบ Konsularbescheinigung ซึ่งออกให้เป็นภาษาไทยและภาษาเยอรมัน และ
-
คำแปลหนังสือเดินทางเยอรมันของฝ่ายชาย ไปให้ทางกระทรวงการต่างประเทศ รับรองเสียก่อน ถึงจะสามารถไปจดทะเบียนสมรสที่เขตบางรัก หรือที่อำเภอ/เขตอื่นได้
-
ลูกค้าต้องจองคิวออนไลน์ที่หน้าเว็บกระทรวงฯ ก่อนนำเอกสารไปรับรองที่กระทรวงฯ
-
หากต้องการรับรองเอกสารแบบด่วนภายในวันเดียว ต้องเลือกบริการ "รับรองแบบด่วน"
-
หากเลือกแบบ "รับรองแบบธรรมดา" ต้องรอถึง 2 วันทำการ!
การไปจดทะเบียนสมรสที่เขตบางรัก หรือที่เขตหรืออำเภออื่นนั้น ลูกค้าต้องจองคิวนัดกับทางเจ้าหน้าที่เขตหรืออำเภอไว้ก่อนล่วงหน้าด้วย แนะนำให้โทรไปสอบถามที่เขตหรืออำเภอก่อน เพื่อจะได้ทราบคิวว่างที่ชัดเจน ในวันจดทะเบียนสมรส จะต้องพาญาติฝ่ายหญิงมาเป็นพยานอย่างน้อย 1 คน ส่วนพยานคนที่ 2 จะเป็นใครก็ได้ ให้ล่ามเป็นพยานให้ก็ได้
หนังสือรับรองจากสถานทูตฯ
คู่หมั้นฝ่ายชายต้องจองคิวเพื่อเข้าไปรับหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส ที่สถานทูตเยอรมัน กรุงเทพฯ ด้วยตนเอง!
แปลพาสเยอรมัน
หนังสือเดินทางเยอรมัน ต้องแปลเป็นไทย และให้ทางสถานทูตรับรองในวันที่ไปรับหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรสด้วย!
กระทรวงการต่างประเทศ
ทั้งคำแปลหนังสือเดินทาง และหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส ต้องไปรับรองต่อที่กระทรวงการต่างประเทศพร้อมกัน!
จดทะเบียนสมรส