top of page
thumbnail_IMG_2502_edited.jpg

เปลี่ยนนามสกุลหลังสมรส

จากประเทศเยอรมนี

บริการของเรา

บริการแบบครบวงจรให้

ขั้นตอนต่อไปนี้เป็นบริการแบบแพ็กเกจ แปลรับรองเอกสารใบสมรส นำไปรับรองที่สถานทูตเยอรมัน กรุงเทพฯ และรับรองต่อที่กระทรวงการต่างประเทศ พร้อมส่งเอกสารที่ดำเนินการทั้งหมดทาง EMS กลับไปลูกค้า เพื่อนำไปเปลี่ยนนามสกุล บันทึกฐานะครอบครัว ฯลฯ

01

แปลเอกสาร

ใบสมรสเยอรมัน/ ใบสมรสฉบับอินเตอร์:

  1. แนะนำให้ลูกค้าส่งใบสมรสเยอรมัน หรือใบสมรสฉบับอินเตอร์ตัวจริงมาทางไปรษณีย์ลงทะเบียน 1 ถึง 2 เดือนล่วงหน้า! (จากเยอรมนี 10-12 วันก็ถึงครับ) 

  2. ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางไทยฝ่ายหญิง และของคู่สมรสเยอรมันมาด้วย อย่างละ 1 ชุด

  3. ถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนมาด้วย 1 ชุด

  4. ใบมอบอำนาจ ไม่จำเป็นต้องใช้ครับ!

รับรองเอกสาร

ที่สถานทูตเยอรมัน กรุงเทพฯ:

  1. นัดคิวออนไลน์สถานทูตฯ

  2. ยื่นเอกสารคำแปลพร้อมใบสมรสตัวจริง

  3. ระยะเวลาดำเนินการ: 1 วันทำการ 

02

03

รับรองเอกสารต่อ

ที่กระทรวงการต่างประเทศ:

  1. นัดคิวออนไลน์กระทรวงฯ

  2. ยื่นคำแปลใบสมรสที่ทางสถานทูตเยอรมันรับรองมา แล้วไปยื่นรับรองต่อเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพฯ

  3. ส่งเอกสารทั้งหมดกลับไปตามที่อยู่ในประเทศไทยของลูกค้าทาง EMS 

  4. ระยะเวลาดำเนินการ 2 วันทำการ

บันทึกฐานะครอบครัว

ที่อำเภอหรือเขตตามทะเบียนบ้านของลูกค้า:

  1. ลูกค้ายื่นคำแปลใบสมรสเยอรมันที่ผ่านการรับรองมาทั้งหมดให้เจ้าหน้าที่อำเภอ/เขต เพื่อขอบันทึกสถานภาพของตนเอง ต้องนำพยานไปด้วย 2 คน!

  2. อำเภอหรือเขตจะออกใบบันทึกฐานะครอบครัว คร. 22 เกี่ยวกับการสมรส ออกบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ ออกใบเปลี่ยนนามสกุล ช. 5 ไว้เป็นหลักฐานตามลำดับ

  3. หลังจากนั้น ทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ได้เลย

04

ข้อควรระวัง!
เมื่อลูกค้าไปดำเนินการขอบันทึกฐานะครอบครัวด้วยตนเองที่อำเภอหรือเขตตามทะเบียนบ้านปัจจุบันของลูกค้า หากเจ้าหน้าที่บอกว่า ต้องแปลหนังสือเดินทางเยอรมันของฝ่ายชายด้วย ให้ลูกค้าขอเอกสารคืนทันที แล้วไปยื่นที่อำเภอหรือเขตอื่นที่เจ้าหน้าที่ไม่เรื่องมาก!

เพราะในระเบียบราชการไม่ได้ระบุว่า ต้องแปลหนังสือเดินทางของฝ่ายสามีแต่อย่างใด!
การบันทึกฐานะครอบครัวนั้น ลูกค้าสามารถทำที่อำเภอ/เขตไหนก็ได้ทั่วประเทศไทย เพราะเป็นงานทะเบียนครอบครัวทั่วไป

ในกรณีดังกล่าว เมื่อลูกค้าบันทึกฐานะครอบครัวเสร็จแล้ว ให้กลับไปที่อำเภอตามทะเบียนบ้านลูกค้า ทีนี้เจ้าหน้าที่คนนั้นจะมาปฎิเสธการทำบัตรประชาชนใหม่ให้ลูกค้าไม่ได้แล้ว เพราะข้อมูลการแจ้งสมรสในต่างประเทศ ได้เข้าระบบไปเรียบร้อยแล้ว!


ในกรณีที่นามสกุลต่างชาติมีตัวสระพิเศษ เช่น Ü, Ö oder Ä หรือ พญัชนะพิเศษ ß ให้แปลงสระเหล่านี้ให้ถูกต้องตามหลักสากลตอนทำหนังสือเดินทางเ
ล่มใหม่ด้วย (Ü=UE, Ö=OE und Ä=AE หรือ ß=SS) ตัวอย่าง เช่น

นามสกุล MÜLLER = MUELLER ไม่ใช่ MULLER!
นามสกุล WÖRMANN = WOERMANN ไม่ใช่ WORMANN!
นามสกุล HÄßLER = HAESSLER ไม่ใช่ HASSLER! 

การสะกดชื่อฝรั่ง

หากลูกค้าประสงค์จะสะกดชื่อฝรั่งเป็นภาษาไทยเอง ต้องแจ้งให้เราทราบก่อนแปลด้วย รวมไปถึง กรณีที่มีการสะกดชื่อฝรั่งอยู่แล้วในเอกสารทางราชการที่ผ่านมา เช่น ในสูติบัตรไทยของบุตร หรือในสมุดทะเบียนบ้านเล่มเหลืองของชาวต่างชาติ หรือด้วยเหตุผลส่วนตัว เช่น ลูกค้าไปดูดวงมาเลยต้องการสะกดแบบนี้ เป็นต้น

 

หากไม่แจ้งให้เราทราบ เราจะถอดเสียงชื่อฝรั่งตามหลักเกณฑ์การถอดเสียงภาษาเยอรมันเองนะครับ

Bahnschienen

บริการบันทึกฐานะครอบครัว

หากลูกค้าไม่สะดวก เรามีบริการเสริมนำใบสมรสเยอรมันหรือใบสมรสเดนมาร์กที่ผ่านขั้นตอนด้านบนทั้งหมดแล้ว ไปดำเนินการบันทึกฐานะครอบครัว แทนให้ได้ และคัดบันทึกฐานะครอบครัว คร. 22 ให้ด้วย 

ค่าบริการนี้ ลูกค้าเสียเพิ่มต่างหากนะครับ!

Euro Bill

รวมค่าบริการ

5.500,- THB 

สิ่งที่เราดำเนินการให้ลูกค้ามีดังนี้

  • แปลใบสมรสเยอรมันให้ลูกค้าส่งมาที่สำนักงานแปลฯ กรุงเทพฯ

  • นัดคิวออนไลน์ และยื่นรับรองเอกสาร ที่สถานทูตเยอรมัน และกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพฯ รวมค่าธรรมเนียมทั้งหมดแล้ว!

  • ส่งด่วนไปรษณีย์ EMS เอกสารทั้งหมดไปให้ลูกค้าตามที่อยู่ที่แจ้งมา เพื่อนำไปบันทึกฐานะครอบครัวตามลำดับ

สาระสำคัญ

หากมาเมืองไทยเองได้!
รับรองเอกสารในประเทศไทย

ขั้นตอนการเดินเรื่องเตรียมเอกสารเพื่อมาเปลี่ยนนามสกุลในประเทศไทย กรณีจดทะเบียนสมรสในประเทศเยอรมนี ง่ายกว่า ประหยัดเงินและเวลากว่า เพราะเป็นขั้นตอนอิงตามสถานทูตเยอรมนี กรุงเทพฯ

  • แค่ลูกค้านำใบสมรสเยอรมันฉบับจริงมา ไม่ต้องไปรับรองที่หน่วยงานเยอรมัน เช่น Bezirksregierung หรือสถานทูตไทยเบอร์ลิน หรือกงสุลใหญ่แฟรงเฟิร์ต ให้เสียเวลาเลย

  • แต่ถ้าใครที่กลับมาเองไม่ได้ ให้ทำตามขั้นตอนอิงสถานทูตไทยเบอร์ลิน หรือกงสุลใหญ่แฟรงเฟิร์ต หรือมิวนิค คือ แปลจากล่ามแปลในเยอรมนี และรับรองให้เสร็จจากที่นั่นไปเลย เดี๋ยวเราไปรับรองต่อที่ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศที่ กรุงเทพฯให้ได้ และส่งคืนให้ญาติหรือบุคคลที่ลูกค้ามอบอำนาจให้ไปดำเนินการต่อตามลำดับ

ขอหนังสือเดินทางใหม่
ก่อนเดินทางกลับเยอรมัน

หลายท่านมีความกังวลหลังจากได้รับหนังสือเดินทางเล่มใหม่มา กลัวว่าอาจมีปัญหาที่สนามบินตอนเดินทางกลับเยอรมัน ตรงนี้ ทางกองหนังสือเดินทางเขาจะคืนเล่มเก่ากลับมาให้ด้วยนะครับ และสามารถยื่นหนังสือเดินทางทั้งสองเล่มตอนเช็คอินที่สนามบินได้ เพราะในบางกรณี ตราวีซ่าที่อนุญาตให้พำนักในเยอรมนีแบบสติกเกอร์ยังอยู่ในหนังสือเดินทางเล่มเดิม หรือไม่ก็แสดงบัตร Aufenthaltstitel-Karte ประกอบด้วย!

ปัจจุบัน เลขหนังสือเดินทางเล่มเก่า จะถูกบันทึกลงบนหน้าที่ 3 ตรง "Endorsementของหนังสือเดินทางเล่มใหม่อัตโนมัติ ทำให้หนังสือเดินทางทั้งสองเล่มมีข้อมูลเชื่อมโยงกัน! 

ในกรณีที่ลูกค้ามีเวลาไม่เพียงพอในการขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ ก็ไม่เป็นไร แต่อย่างน้อย บัตรประจำตัวประชาชนจะต้องเปลี่ยนนามสกุลใหม่ให้เรียบร้อยแล้ว แค่นี้ก็พอที่จะไปขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ที่ สถานทูตไทย เบอร์ลิน หรือที่กงสุลใหญ่ แฟรงเฟิร์ต หรือมิวนิค ก็ได้เช่นกัน

Den Haag

จดทะเบียนสมรสที่ประเทศเดนมาร์ก

bottom of page