
สุรปรีชา สุธรรม (โด่ง)
ล่ามแปลที่ผ่านการรับรองจากรัฐเยอรมัน มีอำนาจรับรองคำแปลภาษาไทย-เยอรมัน จากศาลเมืองฮันโนเฟอร์ | ประเทศเยอรมนี

จดทะเบียนรับรองบุตร
ในสถานทูตเยอรมัน กรุงเทพฯ
เตรียมเอกสาร
บริการแปลรับรองเอกสาร พร้อมยื่นที่สถานทูตฯ สำหรับเดินเรื่องจดทะเบียนรับรองบุตรในสถานทูตเยอรมัน กรุงเทพฯ ทั้งในกรณีคลอดบุตรแล้ว หรือกำลังตั้งครรภ์ เอกสารของแม่เด็ก และของบุคคลที่เกี่ยวข้อง เบื้องต้นสามารถส่งมาแปลทางเมล หรือทางไลน์ก็ได้
01
แปลเอกสาร
เอกสารฝ่ายหญิงที่เป็นโสด:
-
หนังสือเดินทาง
-
สูติบัตร
-
ทะเบียนบ้าน หรือ ทร.14/1
-
หนังสือรับรองสถานภาพสมรส
-
คำร้องทะเบียนครอบครัวจากสำนักทะเบียนกลาง
-
หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ถ้ามี
กรณีฝ่ายหญิงมีสถานภาพหย่า: ขอเอกสารเพิ่ม
-
ทะเบียนสมรส คร. 2
-
ทะเบียนหย่า คร. 6
-
ใบสำคัญการหย่า คร. 7
กรณีบุตรคลอดแล้ว: ขอเอกสารเพิ่ม
-
สูติบัตรบุตร
-
ทะเบียนบ้านบุตร หรือ ทร. 14/1
-
หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ถ้ามี
กรณีบิดามารดาสมรสแล้ว: ขอเอกสารเพิ่ม
-
หนังสือสำคัญการสมรส คร. 3
-
ทะเบียนสมรส คร. 2
กรณีฝ่ายหญิงตั้งครรภ์: ขอเอกสารเพิ่ม
-
หนังสือรับรองแพทย์ออกเป็นภาษาอังกฤษ! โดยมีเนื้อหา กำหนดวันคลอดล่วงหน้า และตั้งครรภ์มาแล้วกี่สัปดาห์
เอกสารของฝ่ายชายที่จะรับรองบุตร:
-
สูติบัตรเยอรมันฝ่ายชายตัวจริง
-
สำเนาหนังสือเดินทางฝ่ายชาย
-
หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร ฉบับจริง ออกโดย Standesamt in der Gemeinde ของฝ่ายชายที่ประเทศเยอรมัน กรณีฝ่ายชายไม่สามารถเดินทางมารับรองบุตรได้ด้วยตนเองที่สถานทูตเยอรมัน กรุงเทพฯ
เตรียมยื่นเอกสาร
ยื่นเอกสารรับรองบุตรที่สถานทูตเยอรมัน:
-
ยื่นเอกสารตัวจริงทั้งหมดพร้อมคำแปล เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่สถานทูตเยอรมันเตรียมเอกสารนัดวันจดทะเบียนรับรองบุตร
-
ระยะเวลาในการรอ: 3 สัปดาห์ โดยประมาณ
02
03
วันนัดจดทะเบียนรับรองบุตร
กรณีบุตรคลอดแล้ว:
-
ให้ทุกฝ่ายมาสถานทูตเยอรมันในวันนัดจดทะเบียนรับรองบุตร ส่วนใหญ่จะนัดรับรองบุตรในช่วงบ่ายโมง
-
ให้นำเอกสารตัวจริงพร้อมคำแปลทั้งหมด และเอกสารที่เกี่ยวข้อง หนังสือเดินทางของทุกฝ่ายมาด้วย
กรณีตั้งครรภ์ และฝ่ายชายมาประเทศไทยไม่ได้:
-
หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร ฉบับจริง ออกโดย Standesamt in der Gemeinde ของฝ่ายชายที่ประเทศเยอรมนี กรณีฝ่ายชายไม่สามารถเดินทางมารับรองบุตรได้ด้วยตนเองที่สถานทูตเยอรมัน กรุงเทพฯ
หลังจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีตั้งครรภ์แล้ว ลูกค้าสามารถจองคิวยื่นวีซ่าติดตามครอบครัว ได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องแสดงหลักฐานการสอบผ่านภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน (A1) แต่อย่างใด!
กรณีประสงค์จะจดทะเบียนสมรสที่ประเทศเยอรมนีก่อนคลอด ให้ลูกค้านำเอกสารทั้งหมดที่ได้ใช้ในการจดทะเบียนรับรองบุตร ไปรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลงที่สถานทูตเสียก่อน!
หากลูกค้าคลอดบุตรที่ประเทศไืทย ให้ลูกค้านำสูติบัตรไปรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลงที่สถานทูตฯก่อนยื่นวีซ่าติดตามครอบครัวนะครับ!
สาระสำคัญ
การไปคลอดบุตรในเยอรมนี
ประกันสุขภาพของฝ่ายชาย
หากลูกค้าประสงค์จะเดินทางไปคลอดบุตรที่ประเทศเยอรมนี ทางบริษัทประกันสุขภาพเยอรมันของฝ่ายชาย ส่วนใหญ่จะไม่ออกค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตรให้ แม้ว่าจะจดทะเบียนรับรองบุตรแล้วก็ตาม การจดทะเบียนรับรองบุตรในสถานทูตฯ กรณีตั้งครรภ์นั้น จึงไม่เพียงพอ ลูกค้าจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายการทำคลอดเอง ซึ่งแพงมากทีเดียว
ดังนั้น ลูกค้าต้องจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนกำหนดคลอดเสียก่อน ทางบริษัทประกันสุขภาพเยอรมันของฝ่ายชาย ถึงจะออกค่าใช้จ่ายในการนำบุตรมาคลอดที่เยอรมันได้
เด็กที่เกิดในประเทศไทย
การได้สัญชาติของเด็ก
เด็กที่เกิดในประเทศไทยจะได้สัญชาติเยอรมันโดยอัตโนมัติ ต่อเมื่อมารดาถือสัญชาติเยอรมัน ถ้าฝ่ายผู้เป็นพ่อถือสัญชาติเยอรมัน เด็กที่เกิดจะได้สัญชาติเยอรมันโดยอัตโนมัติก็ต่อเมื่อ ณ ตอนที่เด็กเกิด บิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกันแล้ว
หากบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ต้องเดินเรื่องจดทะเบียนรับรองบุตรก่อน แม้ว่าชื่อบิดาจะระบุในสูติบัตรไทยว่าเป็นพ่อเด็กก็ตาม!
กรณีที่บิดามารดาได้จดทะเบียนสมรส หลังจากที่เด็กเกิดแล้ว เด็กจะได้สัญชาติเยอรมันจากการสมรสของบิดามารดา ก็ต่อเมื่อการจดทะเบียนสมรสนั้นเกิดขึ้นในประเทศไทย และขณะเดียวกัน ชื่อของเด็กจะต้องถูกบันทึกในทะเบียนสมรส คร. 2 และชื่อคู่สมรสฝ่ายชายได้ถูกระบุในสูติบัตรของเด็กว่าเป็นบิดาด้วยเช่นกัน
กรณีอื่นๆทั้งหมดนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น จำเป็นต้องเดินเรื่องจดทะเบียนรับรองบุตรตามกฎหมายเยอรมัน หรือกฎหมายไทยสถานเดียว กรณีที่ฝ่ายบิดาหรือมารดาชาวเยอรมันเกิดหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2542 ในต่างประเทศ เด็กจะได้สัญชาติเยอรมันก็ต่อเมื่อ ได้มีการแจ้งการเกิดที่สถานทูต ก่อนที่เด็กจะมีอายุครบ 1 ปีบริบูรณ์เท่านั้น
การใช้นามสกุล
ของเด็กที่เกิด
การขอหนังสือเดินทางเยอรมันให้เด็กที่เกิดนั้น ในส่วนของการใช้นามสกุลของเด็ก เป็นไปตามกฎหมายเยอรมัน
หากพ่อแม่เด็กจดทะเบียนสมรสกัน และใช้นามสกลุสมรสร่วมกัน ณ ตอนที่เด็กเกิด เด็กจะได้ใช้นามสกุลสมรสตามพ่อแม่
หากพ่อแม่เด็กจดทะเบียนสมรสกัน แต่ไม่ได้ใช้นามสกุลสมรสร่วมกัน ณ ตอนที่เด็กเกิด จะต้องมีการเซ็นหนังสือการใช้นามสกุลของเด็กก่อน หรือไม่ก็แจ้งการเกิดของเด็กก่อน อย่างใดอย่างหนึ่ง
หากพ่อแม่เด็กไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ตามกฎหมายเยอรมัน เด็กจะใช้นามสกุลตามมารดา! แม้ว่านามสกุลเด็กในสูติบัตรไทย จะปรากฏเป็นชื่อคนอื่นก็ตาม