top of page
Richter und Hammer

เปลี่ยนนามสกุลหลังการหย่า

จากประเทศเยอรมนี

งานบริการของเรา

บริการแบบครบวงจร

บริการแบบเพคเกจ แปลรับรองคำพิพากษาการหย่า นำไปรับรองที่สถานทูตเยอรมัน กรุงเทพฯ และไปรับรองต่อที่กระทรวงการต่างประเทศ พร้อมจัดส่งเอกสารที่ดำเนินการทั้งหมดทาง EMS กลับไปให้ลูกค้า เพื่อนำไปเปลี่ยนนามสกุล บันทึกฐานะครอบครัว ฯลฯ

01

แปลเอกสาร

คำพิพาษาการหย่าจากประเทศเยอรมนี:

  1. แนะนำให้ลูกค้าส่งคำพิพากษาการหย่าฉบับจริง ที่คัดมาบางส่วน หรือ Teilausfertigung และส่งมาทางไปรษณีย์ 1 ถึง 2 เดือนไว้ล่วงหน้า!

  2. ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางไทยฝ่ายหญิงมาด้วย 1 ใบ

  3. ถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนฝ่ายหญิงมาด้วย 1 ใบ

  4. ใบมอบอำนาจ ไม่จำเป็นต้องใช้ครับ!

รับรองเอกสาร

ที่สถานทูตเยอรมัน กรุงเทพฯ:

  1. เรานัดคิวออนไลน์สถานทูตฯ

  2. ยื่นเอกสารคำแปลพร้อมคำพิพากษาฉบับจริง

  3. ระยะเวลาดำเนินการ: 1 วันทำการ 

02

03

รับรองเอกสารต่อ

ที่กระทรวงการต่างประเทศ:

  1. นัดคิวออนไลน์กระทรวงฯ

  2. ยื่นคำแปลคำพิพากษาที่ทางสถานทูตเยอรมันรับรองมา แล้วไปยื่นรับรองต่อเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพฯ

  3. ส่งเอกสารทั้งหมดกลับไปตามที่อยู่ในประเทศไทยของลูกค้าทาง EMS 

  4. ระยะเวลาดำเนินการ 2 วันทำการ

บันทึกฐานะครอบครัว

ที่อำเภอหรือเขตตามทะเบียนบ้านของลูกค้า:

  1. ลูกค้ายื่นคำแปลคำพิพากษาดังกล่าวที่ผ่านการรับรองมาทั้งหมดให้เจ้าหน้าที่อำเภอ/เขต เพื่อบันทึกสถานภาพของตนเอง ต้องนำพยานไปด้วย 2 คน!

  2. อำเภอหรือเขตจะออกใบ บันทึกฐานะครอบครัว คร. 22 การหย่าให้ และทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ พร้อมออกหลักฐานการเปลี่ยนนามสกุล กรณีสิ้นสุดการสมรส ฟอร์ม ช. 5 ไว้เป็นหลักฐานตามลำดับ

  3. หลังจากนั้น ทำหนังสือเดินทางใหม่ได้เลย

04

Euro Bill

รวมค่าบริการ

6.500,- THB 

สิ่งที่เราดำเนินการให้ลูกค้ามีดังนี้

  • แปลคำพิพากษาการหย่าฉบับย่อ หรือ  Teilausfertigung

  • นัดคิวออนไลน์ และยื่นรับรองเอกสาร ที่สถานทูตเยอรมัน และกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพฯ รวมค่าธรรมเนียมหมดแล้ว!

  • ส่งด่วนEMSเอกสารทั้งหมดไปให้ลูกค้าตามที่อยู่ที่แจ้งมา เพื่อให้ลูกค้านำไปบันทึกฐานะครอบครัวตามลำดับ

สาระสำคัญ

คำพิพากษาการหย่า

หากลูกค้าต้องการจะเดินเรื่องเปลี่ยนนามสกุลหลังการหย่าจากศาลที่ประเทศเยอรมนี ให้นำคำพิพากษาจากศาลแขวงเยอรมันฉบับจริง หรือฉบับที่ศาลรับรองสำเนาถูกต้องแล้ว

 

แต่ต้องไปขอคัด "ฉบับย่อ" (Teilausfertigung) มาจากศาลใหม่นะครับ เพราะคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลฉบับเต็มมีเนื้อหาหลายหน้า จะทำให้เสียเวลาและค่าแปลสูงมากเกินความจำเป็น ในขณะที่คำพิพากษาฉบับย่อมีแค่ 1-2 หน้าเท่านั้น!

 

ถ้าลูกค้าเดินทางมาดำเนินการที่ประเทศไทยด้วยตนเอง ไม่จำเป็น ต้องนำคำพิพากษาไปให้หน่วยงานศาลในเยอรมัน และสถานทูตไทย เบอร์ลิน หรือกงสุลใหญ่ รับรองเลย! 

จดทะเบียนสมรสใหม่

โปรดทราบ หากต้องการจะจดทะเบียนสมรสใหม่ ต้องไปแจ้งบันทึกฐานะครอบครัว เรื่องการหย่า เพื่ออัพเดทข้อมูลทะเยียนราษฎร์ในระบบให้เรียบร้อยเสียก่อนที่จะไปขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรสที่อำเภอหรือเขตของลูกค้านะครับ

bottom of page